Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

ม.หาดใหญ่ รายงานสถานการณ์ราคายางไตรมาสแรกยังไม่มีสัญญาณบวกด้านราคา

เริ่มโดย สงขลามีเดีย, 13:29 น. วันที่ 22 01 57

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

สงขลามีเดีย

รายงานสถานการณ์ยางพารา และแนวโน้มรายไตรมาส
ไตรมาสที่ 1 ปี 2557 (มกราคม ? มีนาคม)
โดย.. ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อาจารย์ธีรวุฒิ  อ่อนดำ


สถานการณ์แนวโน้มผลผลิตยางธรรมชาติโดยรวมของโลกไตรมาสที่ 1 ปี 2557 (มกราคม ? มีนาคม) คาดว่าปริมาณผลผลิตโดยรวมลดลง ขณะที่ความต้องการใช้ยางธรรมชาติโดยรวมของโลกคาดว่ามีแนวโน้มทรงตัว หากแต่ความต้องการใช้ในประเทศ พบว่ามีแนวโน้มชะลอตัวลงในปัจจุบัน


        ทั้งนี้เนื่องจากยอดจองซื้อรถยนต์หายไป หลังถูกดึงไปใช้ล่วงหน้าในโครงการรถยนต์คันแรกในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับอุปสงค์รวม (Total Demand) ในประเทศที่เริ่มชะลอตัว ผสมโรงกับปัจจัยทางด้านการเมืองไทยปัจจุบัน ดังนั้นในระยะสั้นอาจเป็นปัจจัยกดดันให้เกิดการชะลอการลงทุนออกไป ส่งผลต่อปริมาณความต้องการใช้ยางธรรมชาติในประเทศ ดังนั้นในภาพรวมคาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันสำคัญที่ส่งผลต่อปริมาณความต้องการของยางธรรมชาติในตลาดโลก

          ด้านแนวโน้มการส่งออกของไทย แม้คาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกลดลง แต่โดยภาพรวมแล้วมองว่าการส่งออกยังถูกจำกัดโดยปริมาณผลผลิตและความต้องการใช้ในประเทศแทน

          สำหรับแนวโน้มราคายาง คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในกรอบแคบๆ มีแนวโน้มขยับขึ้น โดยมีปัจจัยกดดันที่สำคัญคือ

          - อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP?s Growth) ของโลกลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 2.4% เป็น 2.2% (ธนาคารโลก : World Bank)
          - อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP?s Growth) ของประเทศจีนลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 8.0% เป็น 7.7% (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ : IMF)
          - ปริมาณสต๊อกยางธรรมชาติของโลกที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงผลผลิตยางธรรมชาติที่สูงกว่าความต้องการใช้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันราคาไม่ให้สูงขึ้น

สถานการณ์ผลผลิต ความต้องการใช้ และสต๊อกของโลก

          จากข้อมูลสถิติของ International Rubber Study Group (IRSG) เปรียบเทียบปี 2555 และ 2556 พบว่า ไตรมาสที่ 4 ปี 2556 ผลผลิตยางธรรมชาติของโลกมีจำนวน 3,033 พันตัน ลดลง 3.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด แต่เพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้มีจำนวน 2,900 พันตัน เพิ่มขึ้น 11.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และ 2.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า และปริมาณสต๊อกของโลกมีจำนวน 2,650 พันตัน เพิ่มขึ้น 5.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และ 34.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (ตารางที่ 1)

         และจากข้อมูลสถิติยางสังเคราะห์ ของ International Rubber Study Group (IRSG) เปรียบเทียบปี 2555 และ 2556 พบว่า ไตรมาส 4 ปี 2556 ผลผลิตยางสังเคราะห์ของโลกมีจำนวน 3,996 พันตัน เพิ่มขึ้น 9.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส

         ล่าสุด และ 3.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า และปริมาณความต้องการใช้มีจำนวน 4,004 พันตัน เพิ่มขึ้น 13.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และ 5.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า

ตารางที่ 1 ปริมาณผลผลิต ความต้องการใช้ และสต๊อกยางธรรมชาติของโลก


          ขณะที่ปริมาณสต๊อกของโลกมีจำนวน 4,792 ลดลง  0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด แต่เพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 ปริมาณผลผลิต ความต้องการใช้ และสต๊อกยางสังเคราะห์ของโลก


สถานการณ์ผลผลิต ความต้องการใช้ และสต๊อกของไทย

      จากข้อมูลสถิติของสถาบันวิจัยยาง เปรียบเทียบปี 2555 และ 2556 พบว่า ไตรมาสที่ 4 ปี 2556 ผลผลิตยางธรรมชาติของไทยมีจำนวน 965 พันตัน ลดลง 17.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด แต่เพิ่มขึ้น 4.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (ตารางที่ 3) โดยคิดเป็นสัดส่วนปริมาณผลผลิต เทียบกับปริมาณผลผลิตของทั้งโลกไตรมาสที่ 3 และ 4 ปี2556 เท่ากับ 37.1% และ 31.8% ตามลำดับ (ตารางที่ 4)

ตารางที่ 3 ปริมาณผลผลิต ปริมาณส่งออก ความต้องการใช้ในประเทศ และสต๊อกยางธรรมชาติของไทย


ตารางที่ 4 ปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติไปยังประเทศผู้ซื้อปลายทาง


          และปริมาณการส่งออกของไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2556 มีจำนวน 635 พันตัน ลดลง 29.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด แต่เพิ่มขึ้น 4.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณใช้ในประเทศมีจำนวน 330 พันตัน เพิ่มขึ้น  22.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และ 35.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า และปริมาณสต๊อกมีจำนวน 1,895 พันตัน เพิ่มขึ้น 21.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และ 46.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (ตารางที่ 3)

          โดยประเทศส่งออกยางธรรมชาติที่สำคัญของไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2556 คือประเทศจีน มีปริมาณการส่งออกทั้งหมด 547 พันตัน คิดเป็นสัดส่วน 60.9% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมดของไทย รองลงมาคือมาเลเซีย และญี่ปุ่นมีปริมาณการส่งออกทั้งหมด 95 พันตัน และ 56 พันตัน คิดเป็น 10.6% และ 6.2% ตามลำดับ ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด

          โดยปริมาณการส่งออกไปยังประเทศจีน เปรียบเทียบปี 2555 และ 2556 พบว่า ไตรมาสที่ 4 ปี 2556 ผลผลิตยาง ธรรมชาติของโลกมีจำนวน 547 พันตัน เพิ่มขึ้น 54.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และ 23.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ปริมาณการส่งออกไปยังมาเลเซียมีจำนวน 95 พันตัน เพิ่มขึ้น 28.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด แต่ลดลง 1.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า และปริมาณการส่งออกไปยังญี่ปุ่น มีจำนวน 56 พันตัน ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และ 22.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (ตารางที่ 5)

สถานการณ์ราคาในประเทศ


       จากข้อมูลสถิติราคายางพารา โดยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ณ ตลาดกลางยางพารา อำเภอหาดใหญ่ พบว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ราคายางพาราปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยราคาเฉลี่ยรายเดือน ยางแผ่นดิบชั้น 3 ยางแผ่นรมควันชั้น 3 และราคาน้ำยางสด อยู่ที่ 87.5, 89.8 และ 81.7 บาท/กก. ตามลำดับ ลดลง คิดเป็น 16.5% 15.1% และ 13.3% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือน มกราคม ต้นปีที่ผ่านมา (แผนภาพที่ 1)

แผนภาพที่ 1 สถิติระดับราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 และราคาน้ำยางสด เฉลี่ยเดือน ม.ค. ? พ.ย. 56

ที่มา : สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

แนวโน้มผลผลิต ความต้องการใช้โดยรวม การส่งออกของไทย และราคาในประเทศ

          แนวโน้มผลผลิตยางธรรมชาติโดยรวมของโลกไตรมาสที่ 1 ปี 2557 (มกราคม ? มีนาคม) ประกอบกับการประมาณการโดยใช้ข้อมูลสถิติที่ผ่านมา คาดว่าปริมาณผลผลิตโดยรวมลดลงเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 4 ปี 2556 (ตุลาคม ? ธันวาคม) ทั้งนี้แม้ว่าจากข้อมูลสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าหลายประเทศในทวีปแอฟริกา และอเมริกาใต้ เช่น ไนจีเรีย ไลบีเรีย แคมเมอรูน บราซิล และกัวเตมาลา ต่างหันมาปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น

         แต่เนื่องจากไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ (คิดเป็นจำนวนผลผลิต 31.8% ของประมาณผลผลิตทั้งโลก) โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ของประเทศกำลังประสบกับช่วงมรสุม ระหว่างช่วงกลางเดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ทำให้พื้นที่ภาคใต้มีฝนตกชุก ไม่เอื้อต่อการกรีดยาง ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง ส่งผลโดยรวมต่อปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติของโลก

          ด้านแนวโน้มความต้องการใช้ยางธรรมชาติ ไตรมาสที่ 1 ปี 2557 (มกราคม ? มีนาคม) คาดว่าปริมาณความต้องการใช้โดยรวมของโลกมีแนวโน้มทรงตัว แม้ว่าไตรมาสล่าสุดปริมาณความต้องการใช้จะกลับมาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ยังคงมีสาเหตุมาจากความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจโลก โดยข้อมูลจากธนาคารโลก (World Bank) ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP?s Growth) ของโลกปีนี้จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 2.4% เป็น 2.2% และที่สำคัญปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีน

          โดยข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP?s Growth) ของจีน ปี 2013 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 8.0% เป็น 7.7% ด้วยเช่นกัน แม้ว่าจีนจะเป็นประเทศผู้บริโภคยางธรรมชาติที่สำคัญของโลก เนื่องจากฐานการผลิตยางล้อชั้นนำของโลกอยู่ที่ประเทศจีน ประกอบกับกลุ่มตลาดส่งออกที่สำคัญของจีน คือ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ยังคงประสบปัญหาวิกฤติทางการเงิน ซึ่งอาจกระทบทำให้การส่งออกล้อรถยนต์ของจีนลดลง ดังนั้นการนำเข้ายางธรรมชาติของจีนจึงมีแนวโน้มชะลอตัวลง

        นอกจากนั้นราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญและส่งผลต่อปริมาณความต้องการใช้ยางธรรมชาติ ทั้งนี้เนื่องจากน้ำมันถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตยางสังเคราะห์ ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนยางธรรมชาติที่สำคัญ ดังนั้นราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น จึงส่งผลให้ราคายางสังเคราะห์ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคายางธรรมชาติ จึงทำให้ความต้องการใช้ยางสังเคราะห์ลดลง ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศ อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมปลายน้ำมีแนวโน้มชะลอตัวลงในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากยอดจองซื้อรถยนต์หายไป หลังถูกดึงไปใช้ล่วงหน้าในโครงการรถยนต์คันแรกในช่วงที่ผ่านมา

      ประกอบกับอุปสงค์รวม (Total Demand) ในประเทศที่เริ่มชะลอตัว จากประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ลดลง โดยธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และสภาพัฒน์ฯ ผสมโรงกับปัจจัยทางด้านการเมืองไทยปัจจุบัน ดังนั้นในระยะสั้นจึงอาจเป็นปัจจัยกดดันให้เกิดการชะลอการลงทุนออกไป ส่งผลต่อปริมาณความต้องการใช้ยางธรรมชาติในประเทศ ดังนั้นในภาพรวม อุปสงค์รวม (Total Demand) จึงคาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันสำคัญที่ส่งผลต่อปริมาณความต้องการของยางธรรมชาติในตลาดโลก
 
        ด้านแนวโน้มการส่งออกของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2557 (มกราคม ? มีนาคม) คาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด สืบเนื่องจากอุปทาน (Supply) หรือปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติในประเทศที่มีแนวโน้มลดลง แต่ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเรื่องค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นปัจจัยบวกสำคัญที่อาจทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น แต่โดยภาพรวมแล้วการส่งออกยังถูกจำกัดโดยปริมาณผลผลิตและความต้องการใช้ในประเทศแทน

          สำหรับแนวโน้มราคายาง คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในกรอบแคบๆ มีแนวโน้มขยับขึ้น โดยมีปัจจัยกดดันที่สำคัญคือ

          - อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP?s Growth) ของโลก ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 2.4% เป็น 2.2% (ธนาคารโลก : World Bank)
          - อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP?s Growth) ของประเทศจีน ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 8.0% เป็น 7.7% (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ : IMF)
          - ปริมาณสต๊อกยางธรรมชาติของโลกที่เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงผลผลิตยางธรรมชาติที่สูงกว่าความต้องการใช้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันราคาไม่ให้สูงขึ้น
สนับสนุนโดย
- กฟผ.โรงไฟฟ้าจะนะ www.chana.egat.co.th/home
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา www.skru.ac.th
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy