Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

ดร.ครูชบ ยอดแก้ว ปราชญ์ท้องถิ่นแห่งบ้านน้ำขาว จะนะ ผู้สร้างต้นแบบการออมทรัพย์ประเทศไทย

เริ่มโดย ฅนสองเล, 14:57 น. วันที่ 01 05 56

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

ฅนสองเล

วันนี้ (1 พ.ค.56) ทราบข่าวว่า ดร.ครูชบ ยอดแก้ว หรือครูชบ ที่หลายคนคงได้ยินชื่อเสียงของท่านมานานแล้ว ครูชบ ท่านเติบโดมาจากครอบครัวชาวนา ร่ำเรียนจนได้เป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา แต่สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าการเป็นครูท่าน นั่นคือการเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ปราชญ์ท้องถิ่น ปราชญ์ประเทศไทย ท่านคือผู้สร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง   

ดร.วิจารณ์  พานิช ได้เขียนถึงครูชบ ยอดแก้ว ไว้ว่า

"นายชบ ยอดแก้ว  เกิดวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2478  จบการศึกษาครุศาสตรบัณฑิตจากวิทยาลัยครูสงขลา  เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา  จนเกษียณราชการ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาท่านได้ใช้ความรู้ความคิดในการแก้ปัญหาชุมชนด้วยความทุ่มเท  โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการออมและสวัสดิการชุมชน   จนเป็นแบบอย่างของงานพัฒนาให้แก่ชุมชนอื่น ๆ ทั่วประเทศ ได้รับยกย่องตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ

    นายชบ  ยอดแก้ว  เริ่มแนวคิดด้วยการจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์  ตำบลน้ำขาว และพัฒนาแนวคิดเรื่องเศรษฐศาสตร์ชุมชนจนสามารถกอบกู้เศรษฐกิจชุมชนของตำบลน้ำขาวและพื้นที่ใกล้เคียงให้หลุดพ้นจากความยากจนได้   ซึ่งต่อมาแนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ในชุมชนทั่วประเทศ   องค์ความรู้จากการปฏิบัติจริงของนายชบ  ยอดแก้ว  ได้ถูกประมวลเป็นหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ชุมชนพึ่งตนเอง  และได้รับการผลักดันเป็นนโยบายรัฐ   โดยคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ  สำนักนายกรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดทำหลักสูตรขยายผลต่อไป

   จากความรู้ประสบการณ์ทำงานที่เป็นที่ยอมรับของสังคม  นายชบ  ยอดแก้ว จึงได้รับตำแหน่งหน้าที่และรางวัลต่าง ๆ มากมาย  ตำแหน่งสำคัญที่ได้รับ เช่น ประธานกลุ่มออมทรัพย์เครือญาติ ตำบลน้ำขาว    ผู้จัดการสมาคมฟื้นฟูหมู่บ้านชนบทสงขลา    ประธานคณะกรรมการอำนวยการ "กองทุนหมุนเวียนชาวบ้านสงขลา"  ประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดสงขลา    กรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ เป็นต้น   ส่วนรางวัลที่สำคัญที่ได้รับ เช่น พ.ศ. 2527  ได้รับเลือกให้เป็นผู้บริหารการศึกษาดีเด่น รับแหวนเสมาทองคำพร้อมเกียรติบัตรจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี  และในปีเดียวกันได้รับเลือกให้เป็นข้าราชการตัวอย่างของกระทรวงศึกษาธิการ รับโล่พร้อมเกียรติบัตรจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ   

ปี พ.ศ.2531 ได้รับการคัดเลือกเป็นข้าราชการดีเด่น 4 กระทรวงหลักของจังหวัด  รับโล่จากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย   และงานด้านศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนใต้   รับพระราชทานโล่จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี    ปี พ.ศ.2534 ได้รับพระราชทานโล่ด้านวัฒนธรรมดีเด่น สาขาพัฒนาท้องถิ่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   และได้รับเลือกเป็น "คนดีศรีสังคม" ประจำปี พ.ศ.2534 รับโล่จากอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี   ปี พ.ศ.2535 ได้รับการคัดเลือกเป็นศิษย์เก่าดีเด่นของวิทยาลัยครูสงขลา ในวาระครบ 100 ปีของกรมการฝึกหัดครู รับโล่จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 

ปี พ.ศ.2538 ได้รับรางวัลพระราชทานรางวัลอนุสรณ์สงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะผู้อุทิศตนทำประโยชน์แก่ชุมชนและอนุชนรุ่นหลัง   ปี พ.ศ.2539 ได้รับคัดเลือกเป็นครอบครัวประชาธิปไตยตัวอย่างจากสำนักนายกรัฐมนตรี  รับโล่จาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี   

ปี พ.ศ.2541 ด้านวัฒนธรรมรับพระราชทานเข็ม ภปร. จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ปี พ.ศ.2544 มีผลงานทางภูมิปัญญาไทยเรื่อง "เศรษฐศาสตร์ชุมชน" รับพระราชทานเข็มเครื่องหมายครูภูมิปัญญาไทย จากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

องค์ความรู้ของ นายชบ  ยอดแก้ว ได้บูรณาการจากการศึกษาทั้งในและนอกระบบสามารถเชื่อมโยงและบริหารจัดการองค์ความรู้หลายด้านมาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาให้กับชุมชน   ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในสังคมอย่างกว้างขวาง   สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม   ทำให้ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้  ตระหนักและดำรงตนอย่างมีศักดิ์ศรี  จึงกล่าวได้ว่า นายชบ  ยอดแก้ว เป็นปราชญ์ในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
         
ด้วยความรู้ความสามารถและคุณธรรม   ความเสียสละเพื่อชุมชน  สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงมีมติมอบปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนาชุมชนแก่ นายชบ  ยอดแก้ว เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป"




เกี่ยวกับครูชบ ยอดแก้ว จากเว็บไซต์สมาคมครูภูมิปัญญาไทย ภาคใต้  ( www.southernthaiwisdomscholarsassociation.com )

นายชบ ยอดแก้ว
ครูภูมิปัญญาไทย ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน (การออมทรัพย์)

ครูชบ ยอดแก้ว ผู้ริเริ่มแนวคิดเศรษฐศาสตร์ชุมชนหรือเศรษฐศาสตร์พื้นบ้าน โดยนำความคิดรวบยอดจากกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์และสวัสดิการชุมชนมาผนวกกับการใช้การศึกษาเข้ามาเป็นฐานเพื่อการพัฒนาชุมชนในเข้มแข็ง เศรษฐศาสตร์ชุมชนก็คือ กลุ่มออมทรัพย์อันเกิดขึ้นจากการเรียนนรู้ของชาวบ้านในเรื่องการจัดการเงินทุนของตนเองและครอบครัว โดยประสานเชื่อมโยงกับสังคม วัฒนธรรม จิตใจ และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน การออมทรัพย์นอกจากทำให้สามารถกอบกู้เศรษฐกิจในครัวเรือนได้แล้ว ยังสามารถนำมาซึ่งการกอบกู้เศราฐกิจของประเทศชาติได้อีกด้วย

ชีวิตและการทำงาน : ก่อเกิดกระบวนการเรียนรู้

ครูชบเรียนหนังสือในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา บรรยาากาศในการเล่าเรียนก็มีสภาพเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป หากแต่ครูชบเป็นคนเจ้าความคิด มีเหตุผล ต่อมาเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนประชานุกูล อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลาโรงเรียนนี้อยู่ไกลบ้านประมาณ ๘-๑๐ กิโลเมตร จึงต้องอาศัยวัดเป็นที่พัก เนื่องจากยากจนจึงอดมื้อกินมื้อ และไม่สนใจอ่านตำรามากนัก แต่เนื่องจกเป็นคนมีความจำดีเลิศ ปฏิภาณฉับไว เมื่อเพื่อนอ่านให้ฟังก็สามารถจดจำเนื้อหาสาระได้ทั้งหมด จากความเป็นนักพูด นักคิด ก็สามารถตอบคำถามของครูได้เป็นอย่างดี

ต่อมาครูชบสอนทุนครูได้ที่โรงเรียนฝึกหัดครูสงขลา ได้ศึกษาด้วยตนเองจนสอบได้วุฒิพิเศษมัธยม (พ.ม.) หลังจากนั้น ได้ศึกษาต่อที่คณะครุศาสตร สถาบันราชภัฏสงขลา หรือวิทยาลัยครูสงขลาในขณะนั้น และสำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิตในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ครูชบเริ่มอาชีพด้วยการเป็นครูในโรงเรียประถมศึกษา เพราะตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาขั้นพื้นฐานอันเป็นรากฐานสำคัญของชาติ จากการเป็นครูประถมศึกษานี้เอง ครูชบพบว่ารัฐบาลให้ความสำคัญต่อการศึกษาระดับนี้เพียงด้านทฤษฏี ในเรื่องการปฏิบัตินั้นให้ความสำคัญน้อยมาก

ในระยะแรกของการทำงาน ครูชบมิได้อยู่ในสายตาของผู้บริหารเลย แม้ว่าจะมาโรงเรียนแต่เช้า กลับหลังคนอื่น และทำงานอย่างหนักในช่วงที่เป็นครูผู้สอน (เป็นเวลา ๒๓ ปี) นั้น ครูชบได้ ๒ ขั้นเพีง ๑ ครั้ง แต่เมื่อมาเป็นผู้บริหารโรงเรียน (เป็นเวลา ๑๔ ปี) ครูชบได้ ๒ ขั้น ถึง ๑๒ ครั้ง

ครูชบเองได้เห็นภาพความยากจนของชุมชนมาตั้งแต่ยังเยาว์ และเห็นภาพความยากจนของชุมชนชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อมาเป็นครู ปัญหาเศรษฐกิจในขณะนั้นก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่รุนแรงมาก โจรผู้ร้ายชุกชุม ประชาชนมั่วอบายมุข ชุมชนแตกแยก จนทางการต้องจัดหน่วยปฏิบัติการพิเศษหรือที่เรียกว่า "หน่วยเฉพาะกิจ" เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการที่ตำบลน้ำขาว ซึ่งทำให้ครูชบไม่สบายใจ เพราะถือว่า การที่ทางการใช้ไม้แข็งมาปราบปรามคนในชุมชนก็เท่ากับปราบปรามญาติพี่น้องของตนเอง ครูชบจึงมองหาโอกาสที่จะช่วยชุมชน และขอร้องกับทางการไม่ให้ใช้ความรุนแรงกับชาวบ้านและจะเป็นผู้หาทางแก้ไขปัญหาเอง

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ครูชบมีโอกาสได้มาช่วยราชการอยู่ที่สำนักงานหมวดการศึกษา อำเภอจะนะ และด้วยความมานะที่จะช่วยชุมชนให้พ้นจากความยากจน จึงขออนุญาตนายอำเภอไปเป็นผู้บริหารโรงเรียน เพื่อใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพของบุคคลในโรงเรียนก่อน แล้วจึงขยายผลไปสู่ชุมชนในภายหลัง ครูชบเชื่อว่า คนจะพัฒนสได้ต้องใช้กระบวนการศึกษา ครูชบถือว่า ปัญหาเกิดจากคน ต้องแก้ที่คน ซึ่งตรงกับพุทธวาจาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสไว่ว่า"เหตุเกิดที่ไหน ต้องแก้ที่นั่น"



ครูชบเดินทางไปรับตำแหน่งครูใหญ่ที่โรงเรียนน้ำขาวในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ซึ่งเป็นวันชาติไทย ครูชบเชื่อมั่นว่า การเริ่มงานใหม่ในวันชาติไทยถือเป็นมิมิตหมายอันดีที่จะทำงานให้สัมฤทธิผล

การสร้างกระบวนการเรียนรู้
โครงการพัฒนาประสิทธิภาพบุคคลนั้น ครูชบเริ่มทดลองในโรงเรียนน้ำขาวก่อน ตามลำดับโดยใช้วัตถุประสงค์ ๓ ข้อ กล่าวคือ

๑. การพัฒนาครู และนักเนรียนให้มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์

๒. มีความเป็นประชาธิปไตย

๓. มีเศรษฐกิจดี

มีโครงการย่อยรองรับ ๘ โครงการ ได้แก่

โครงการอาหารกลางวัน

โครงการส่งเสริมนิสัยประชาธิปไตยในโรงเรียน

โครงการเด็กก่อนวัยเรียน

โครงการการเกษตร

โครงการสุขศึกษาสายการศึกษา

โครงการกิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์

โครงการพัฒนาหมู่บ้าน

โครงการเศรษฐกิจชุมชน

การดำเนินโครงการให้สัมฤทธิผลนั้น ครูชบ  ใช้วิธีการพัฒนาชนบทไปพร้อมกับการพัฒนาคน สมดังคำพังเพยที่กล่าวไว้ว่า จะปลูกพืชต้องเตรียมดินจะกินต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนาการต้องเตรียมประชาชน จะพัฒนาคนต้องพัฒนาจิตใจ จะพัฒนาใครต้องพัฒนาตนเองก่อน ในโครงการ ๘ โครงการนั้นมีโครงการที่โดดเด่นมาก และช่วยชุมชนได้คือ โครงการสหกรณ์และออมทรัพย์ในโรงเรียนเกิดรูปแบบและวิธีการจัดการ เหล่าครูและนักเรียนต่างมีเงินออมครูสามารถกู้เงินจากกองทุนและเสียดอกเบี้ยน้อย สามารถแก้ปัญหาหนี้สินของครูได้ ครูและเด็กได้รับสวัสดิการที่ดี สำหรับนักเรียนนั้นเมื่อจบไปแล้วก็ยังมีเงินก้อนนำไปตั้งตัวได้

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ สมาชิกในชุมชนเห็นว่าที่ครูชบดำเนินการให้กับโรงเรียนนั้นดีประสบผลสำเร็จ จึงอยากมีเงินออมเช่นเดียวกับโรงเรียนบ้าง ครูชบจึงหาแนวร่วมกับข้าราชการในท้องถิ่นจาก ๔ กระทรวงหลักมาช่วยกันผลักดันให้เกิดการออมทรัพย์ขึ้นในชุมชน

ก่อนหน้านั้น ชาวบ้านเคยเข้าร่วมกับกลุ่มออมทรัพย์ของกรมพัฒนาชุมชนมาแล้ว แต่ล้มเหลว ครูชบจึงคิดค้นวิธีการใหม่ ที่จะช่วยเหลือชาวบ้านได้อย่างแท้จริงจนในที่สุดสามารถเป็นกลุ่มสะสมทรัพย์ที่เป็นการออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิต ซึ่งเป็นจุดแข็งของการออมทรัพย์ประเภทนี้ สามาชิกจะออมเงินกับกลุ่มเดือนละ ๑ ครั้งจากนั้นนำเงินออมที่ได้ไปให้สมาชิกกู้ยืม สิ้นปีนำผลกำไรมาแบ่งเป็นสอบส่วนเท่ากๆกัน ครึ่งหนุ่งปันผลให้สมาชิก อีกครึ่งหนึ่งนำมาเป็นกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกตั้งแต่เกิดจนตาย กล่าวโดยสรุปได้ว่า มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ :

๑. สมาชิกต้องทำการออมครั้งแรกอย่างต่ำ ๑ หุ้น (หุ้นละ ๑๐ บาท) ไม่เกิน ๑๐ หุ้น และมีสิทธิ์กู้ทันทีเมื่อเป็นสมาชิก โดยเสียดอกเบี้ยร้อยละ ๕ เมื่อตั้งกลุ่มใหม่ๆและลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงเหลือร้อยละ ๒ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ จนปัจจุบัน

๒. สิทธิในการกู้ของสมาชิกจะพิจารณาตามความจำเป็นก่อนหลัง โดยให้ความสำคัญเรื่องของการรักษาโรคภัยไข้เจ็บเป็นอันดับแรก
และต่อมาเป็นเรื่องของการปลดหนี้ และการศึกษาตามลำดับ ส่วนเรื่องอื่นไ นอกเหนือจากที่กล่าวมา เป็นความตกลงกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ที่ผู้กู้ต้องเสียนั้น จะกลับคืนมาเป็นเงินปันผลในภายหลัง

๓. การออมทรัพย์ของครูชบ ต้องคู่กับสวัสดิวการ สมาชิกจะต้องออมให้ได้ ๑๒ เดือน จึงจะมีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการ โดยนำผลกำไรมาแบ่งเป็นส่วนร้อยละ ๕๐ แรกจะเป็นเงินปันผลให้แก่สมาชิก อีกร้อยละ ๕๐ หลังจะนำมาใช้ในเรื่องของสวัสดิการครอบคลุมทุกเรื่องตั้งแต่เกิดจนตาย ได้แก่ การคลอดบุตร การรักษาพยาบาลการศึกษา การฌาปนกิจ เป็นต้น

๔. สามาชิกที่ลาออก เมื่อครบกำหนด ๓ ปี จึงจะมีสิทธิ์สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ได้



การแบ่งปันความรู้ของครูภูมิปัญญา

คนเราแม้เลือกเกิดไม่ได้ แต่สามารถที่จะเลือกทางเดินชีวิตของตนเองได้ เส้นทางชีวิตที่ครูชบเลือกเดิน เป็นเส้นทางชีวิตที่สร้างกำไรและความงดงามงามในชีวิตให้แก่ผู้อื่น จะเห็นได้จากแนวคิดเรื่องการออมทรัพย์นี้เป็นที่นิยมของบุคคลทั่วไป ครูชบจึงต้องเดินทางไปสร้างกลุ่มออมทรัพย์และทำความเข้าใจในเรื่องนี้ทั่วประเทศ เปรียบเสมือนการเดินทางไปขายฝัน ซึ่งส่วนใหญ่ฝันนั้นมักเป็นจริงเสมอ ต่อมาครูชบก็สร้างหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ชุมชนขึ้นจนเป็นที่ยอมรับของคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กอบกู้เศรษฐกิจของชุมชนด้วยความอดทนมานานถึง ๔๐ ปี อีกด้วย

บุคคลที่ประสบผบสำเร็จอย่างมากในการรับแนวคิดของครูชบไปตั้งกลุ่มสะสมทรัพย์จนเป็นผลสำเร็จนั้น มีทั้งพระสงฆ์และฆารวาส อาทิ
พระสุบิน ปณีโต แห่งจังหวัดตราด พระมนัส ขันติธัมโม แห่งจังหวัดจันทบุรี นายปริมาตร ไกรจรัส นายประยงค์ จินาวงศ์ นายปรีดา กามเกิด แห่งจังหวัดกระบี่ ครู-อาจารย์ในสถาบันต่างๆ อีกหลายแห่งทั้งในภาคใต้และภาคอื่นๆ โรงเรียนที่นำรูปแบบการออมทรัพย์ของครูชบไปก่อตั้งในโรงเรียนของตน ได้แก่อาจารย์สมหมาย ขวัญทองยิ้ม อาจารย์ณรงค์ พลันสังเกตุ เป็นต้น

ครูชบมักกล่าวเสมอว่า การสะสมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิต ต้องคู่กับสวัสดิการด้วย ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ในความเป็นจริง
สังคมด้วยกันปฏิบัติต่อคนในสังคมไม่เท่าเทียมกัน คือ กลุ่มข้าราชการจะมีสวัสดิการจากรัฐ กลุ่มพนักงานบริษัทก็จะมีประกันสังคม
ส่วนกลุ่มที่ขาดการเหลียวแลจากรัฐ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้แรงงาน งานที่ยิ่งใหญ่ของครูชบจึงเป็นการทำเพื่อช่วยกลุ่มสุดท้ายที่กล่าวมา

คำกล่าวที่ว่า "ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก" นั้นไม่เกินจริง กระบวนการเรียนรู้ออมทรัพย์ในโรงเรียนที่ครูชบเป็นผู้ก่อกำเนิด ได้แทรกเข้าไป
ในจิตวิ ญญาณของนักเรียนตั้งแต่เล็กจนดต เกือบทุกคนที่จบการศึกษา จากโรงเรียนน้ำขาวที่ครูชบเคยสอน ยังเป็นสมาชิกของกลุ่มออมทรัพย์ในหมู่บ้านจนบัดนี้การรู้จักการออทรัพย์เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับตนเองและให้กับชาติบ้านเมือง หากครูสามารถปลูกฝังแนวคิกและแนวปฏิบัติดีๆ ให้แก่นักเรียนของรัฐทั่วประเทศ ซึ่งมีจำนวนถึง ๑๔,๖๔๘,๖๕๓ คน (สถิติการศึกษาไทยปีพ.ศ. ๒๕๔๒) ได้แล้ว ในอนาคตประเทศชาติย่อมเจริญรุ่งเรืองกว่าที่เป็นอยู่แน่นอน

งานสร้างคนสร้างชาติของครูชบเป็นงานที่มีฐานพุ่งออกมาจากจุดเล็กๆ ในสังคม คือ โรงเรียน พุ่งเข้าสู่ชุมชน และการะจายไปในประดับประเทศ
ดังเช่นการจุดพลุขึ้นสู่ท้องฟ้า ต่างกันเพียงแต่พลุที่ครูชบจุดขึ้นไปในท้องฟ้านั้นมีความงดงามสว่างไสวและสร้างความมั่นคงแข็งแรงในชีวิต เมื่อเวลาของการทำงานผ่านไปภาพความเสื่อมโทรมของชุมชนก็หายไปด้วยเช่นกัน ผู้คนต่างมีจิตใจและสุขภาพดีขึ้น สังคมไทยเข้าสู่สภาวะสังคมที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง

การที่ครูชบ ยอดแก้ว เป็นผู้ทรงภูมิปัญญาด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน (การออมทรัพย์) เป็นผู้สร้างสรรค์ และสืบสานภูมิปัญญาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชน จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นครูภูมิปัญญาไทยเพื่อทำหน้าที่ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ตามนัยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช ๒๕๔๒

ครูชบ ยอดแก้ว เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ที่ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายปั้น นางสำเภา ยอดแก้ว

สมรสกับนางปราณี แก้วมหากาฬ มีบุตร ๕ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๒ คน

การศึกษา   
ครุศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยครูสงขลา (สถาบันราชภัฏสงขลาในปัจจุบัน)

เกียรติคุณ
พ.ศ. ๒๕๒๗ ผู้บริหารการศึกษาดีเด่น ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๒๗ ข้าราชการตัวอย่างของกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๓๑ ข้าราชการดีเด่น ๔ กระทรวงหลักของจังหวัดสงขลา
พ.ศ. ๒๕๓๑ ข้าราชการดีเด่น ๔ กระทรวงหลักของ ศอ.บต.
พ.ศ. ๒๕๓๔ คนดีศรีสังคมและรางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ
พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับการยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ ๑ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
สองเลรีวิว กดติดตามได้ที่
www.facebook.com/songlayreview
www.youtube.com/@Songlayreview
www.tiktok.com/@songlayreview22
รีวิวบ้านบ้าน ข่าวสารเข้มข้น สองเลรีวิว TLP : 0897384215

seiha

 ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D





คาสิโนออนไลน์ ในรูปแบบใหม่ล่าสุดจาก ปอยเปต คาสิโน รีสอร์ท ได้ที่นี่ royal1688


sereynut

 :) :) :) :) :) :) :) :)

คาสิโนออนไลน์ ในรูปแบบใหม่ล่าสุดจาก ปอยเปต คาสิโน รีสอร์ท ได้ที่นี่ royal1688