Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

เปิดโปง นักวิจัย การสูบบุหรี่และนิโคติน ป้องกันโควิด-19 ได้ มีความสัมพันธ์ยาวนาน

เริ่มโดย สงขลามีเดีย, 22:24 น. วันที่ 14 05 63

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

สงขลามีเดีย

เปิดโปง นักวิจัย การสูบบุหรี่และนิโคติน ป้องกันโควิด-19 ได้ มีความสัมพันธ์ยาวนานกับบริษัทยาสูบ

ศ.นพ. ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ เปิดเผยประวัติความสัมพันธ์ของ Jean-Pierre Changeux นักวิจัยด้านประสาทวิทยา ประเทศฝรั่งเศส หัวหน้าทีมงานวิจัย ที่จะพิสูจน์สมมติฐานว่า นิโคตินจากการสูบบุหรี่ อาจจะมีผลป้องกัน การติดเชื้อโควิด-19  โดยงานวิจัย  "สมมุติฐาน นิโคตินสำหรับ Covid-19  เกี่ยวกับการป้องกัน และการรักษา" "A nicotine hypothesis for Covid-19 with preventive and therapeutic implications"  ซึ่งหัวหน้าทีมวิจัย Jean-pierre Changeux มีประวัติเกี่ยวพันกับธุรกิจยาสูบดังนี้

ปี 1995-1998 รับทุนรวม 220,000 ดอลลาร์  จากสถาบันยาสูบ ซึ่งเป็นองค์กรที่ร่วมกันสนับสนุนโดยบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ
ปลายทศวรรษ 90 เป็นที่ปรึกษา บริษัทเภสัชกรรม ที่เป็นบริษัทลูกของ บริษัทบุหรี่ อาร์ เจย์ เรย์โนล์ด
ปี 2006/2007 เป็นที่ปรึกษาในงานวิจัยและตีพิมพ์ ที่สนับสนุนโดย บริษัทบุหรี่ ฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล

ศ.นพ. ประกิต กล่าวว่า บริษัทบุหรี่มีประวัติอันยาวนาน ที่ออกข่าวสนับสนุนการทำวิจัยถึงประโยชน์ของนิโคตินในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งการผลิตวัคซีนเลิกสูบบุหรี่ แต่ไม่เคยพบว่านิโคตินในยาสูบมีผลดีต่อทางการแพทย์เลย  ล่าสุดบริษัทบุหรี่ BAT ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษก็ประกาศว่ากำลังพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้ป้องกันโควิด-19  จากใบยาสูบ  และพยายามที่จะเชิญชวนรัฐบาลอังกฤษเพื่อให้เข้าร่วมการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 นี้ แต่รัฐบาลอังกฤษไม่ตอบรับข้อเสนอดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมยาสูบจึงเห็นตรงกันว่า   การสร้างข่าวต่าง ๆ ของบริษัทบุหรี่เป็นการสร้างภาพและให้เกิดความหวังที่ไม่สามารถเป็นความจริงได้ เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่สูบต่อไปเท่านั้น  ทั้งนี้ในข้อตกลงยอมความในคดีฟ้องร้องระหว่างอัยการรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา  ที่เรียกร้องให้บริษัทบุหรี่ชดเชยค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เกิดจากการสูบบุหรี่ที่รัฐต่าง ๆ เสียไป ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวบริษัทบุหรี่ต้องยุบสถาบันยาสูบและสถาบันวิจัยที่สนับสนุนโดยบริษัทบุหรี่ เพื่อไม่ให้บริษัทบุหรี่สนับสนุนงานวิจัยเพื่อสร้างความสับสนถึงอันตรายของการสูบบุหรี่และควันบุหรี่มือสอง แต่ล่าสุดบริษัทบุหรี่ ฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล ก็ประกาศให้ทุน Foundation for a Smoke-Free World ปีละ 80 ล้านดอลลาร์ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 และจะให้ติดต่อกันเป็นเวลา 12 ปี  เพื่อสนับสนุนงานวิจัย และส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดใหม่ ๆ ซึ่งก็คือบุหรี่ไฟฟ้า ดังนั้นการพิจารณาข่าวสารงานวิจัยเรื่องบุหรี่และสุขภาพจึงต้องระมัดระวังว่าเป็นงานวิจัยที่มีแหล่งทุนจากบริษัทบุหรี่หรือไม่  ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนและไม่น่าเชื่อถือ

ข้อมูลอ้างอิง  :
https://exposetobacco.org/news/flawed-covid19-studies/
https://www.bat.com/group/sites/UK__9D9KCY.nsf/vwPagesWebLive/DOBN8QNL
https://publichealthlawcenter.org/sites/default/files/resources/MSA-Overview-2019.pdf
https://tobaccotactics.org/wiki/foundation-for-a-smoke-free-world/
สนับสนุนโดย
- กฟผ.โรงไฟฟ้าจะนะ www.chana.egat.co.th/home
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา www.skru.ac.th
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy