Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

หนี้หลุด?หยุดสร้างหนี้ แล้วใช้ชีวีอย่างพอเพียง

เริ่มโดย สงขลามีเดีย, 10:11 น. วันที่ 29 04 56

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

สงขลามีเดีย

นุชนาฎ  เกลี้ยงเกิด
ผู้วิเคราะห์อาวุโส ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้


   คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การใช้โฆษณาการตลาดนำของสถาบันการเงินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รถแลกเงิน  สินเชื่อเงินสด  สินเชื่อเอนกประสงค์  เป็นต้น กลายเป็นสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้ประชาชนภาคครัวเรือนส่วนหนึ่งอดใจไม่ไหว จนคล้อยตามคำโฆษณาและเข้าไปติดกับดักหนี้จนบางรายแทบจะหาทางออกไม่เจอ ซึ่งการเป็นหนี้ได้ง่าย ๆ ทำให้เกิดการใช้จ่ายเงินเกินตัวและอาจเกิดภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวได้ 


   หากไม่อยากติดกับดักหนี้ ก่อนใช้บริการสินเชื่อทุกครั้งจึงควร  ?คิดก่อน?ก่อหนี้?  กันสักนิด   หลัก ๆ ที่สำคัญคือ

-   ต้องไม่หลงก่อหนี้ตามคำโฆษณา 
-   ก่อหนี้เมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ  และต้องเป็นในจำนวนที่น้อย
-   ควรหาข้อมูลการขอสินเชื่อเปรียบเทียบจากหลาย ๆ แห่งก่อนสร้างหนี้ 
-   ต้องมีรายได้เพียงพอในการชำระหนี้ 
-   ที่สำคัญที่สุด ควรหลีกเลี่ยงเงินกู้นอกระบบ 

   ทั้งนี้ ยอดหนี้ที่ต้องชำระต่อเดือนที่ปลอดภัยสำหรับการดำรงชีวิต ไม่ควรจะเกิน 50% ของรายได้ในแต่ละเดือน   

   หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีหนี้สินจำนวนมาก และต้องการหลุดออกจากวงจรหนี้  จึงถึงเวลาแล้วที่ต้องคิดหาวิธีการจัดการหนี้อย่างเป็นระบบในทันที  โดยเริ่มจากการสำรวจตัวเองกันก่อนดีกว่า ว่าเรามีเจ้าหนี้กี่ราย ยอดหนี้ อัตราดอกเบี้ย เงินผ่อนต่องวด จำนวนเท่าไหร่  เมื่อมีข้อมูลครบถ้วนแล้ว เรามาขจัด ปัดเป่า และเร่งปลดหนี้ให้หมดเร็วขึ้นกันดีกว่า  โดยมีเทคนิคการจัดการหนี้ที่เป็นระบบมาฝากกัน ดังนี้

   1. ?ตัดและหยุด?  ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น  รายจ่ายที่เกิดจากการซื้อหวย  ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ถ้าตัดไม่ได้  ก็ให้ลดจำนวนที่จ่ายลงที่ละนิด เพื่อจะได้มีเงินเหลือชำระหนี้ พร้อมกันนี้ก็ต้องหยุดสร้างหนี้เพิ่มด้วยเช่นกัน

   2. ?ชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงก่อน? เมื่อได้ชำระหนี้ต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดแล้ว และยังมีเงินเหลือที่สามารถจะนำไปกลบหนี้ได้  ให้นำไปชำระหนี้ก้อนที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน เช่น ระหว่างหนี้จากการซื้อบ้าน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 6% ต่อปี  กับหนี้นอกระบบ 5 หมื่นบาท อัตราดอกเบี้ย 10% ต่อเดือน  เมื่อมีเงินก็ควรชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ย 10% ต่อเดือนก่อน  ถึงแม้ว่า จำนวนที่เป็นหนี้จะไม่สูงมากแต่ดอกเบี้ยที่จ่ายมีจำนวนสูง การชำระต้นเงินลดลงทำให้เราต้องจ่ายดอกเบี้ยลดลงนั้นเอง 

   3. ?ยุบ ย้าย รวม? เมื่อเป็นหนี้หลายราย หลายแหล่ง แถมอัตราดอกเบี้ยก็แตกต่างกันมาก  เราควรที่จะยุบจากหลาย ๆ แหล่ง แล้วย้ายทุกแหล่งมารวมกันไว้อยู่เป็นที่เดียวกัน  เพื่อง่ายต่อการชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย นั่นก็คือ  ถ้าเราเป็นหนี้อยู่ 5 ราย แต่ละราย  วันชำระเงินก็แตกต่างกันไป  ถ้าเป็นอยู่อย่างนี้ ในแต่ละเดือนเราจะต้องคิดอยู่เสมอว่า  วันไหนถึงกำหนดชำระรายไหน จำนวนเงินเท่าไหร่  จะเอาเงินจากไหนมาชำระหนี้ ฉะนั้น เราจึงควรหาแหล่งเงินกู้แหล่งใหม่ที่สามารถกู้แล้วได้เงินมากลบหนี้ทั้ง 5 รายนี้ได้  ค่าดอกเบี้ยที่เสียให้แหล่งใหม่ควรมีจำนวนที่น้อยกว่าหรือเท่ากันกับค่าดอกเบี้ยเดิมเป็นดีที่สุด  ผลดีที่สามารถรวมทุกหนี้มาไว้ที่เดียวกันได้คือ  ทำให้ง่ายต่อการจดจำวันชำระหนี้จาก 5 วันเป็นเหลือเพียงแค่ 1 วัน ทำให้มีสมาธิในการทำงานเพิ่มขึ้น เป็นต้น

   4. ?เจรจาประนอมหนี้?  ถ้าหนี้ที่เรามีอยู่  ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามจำนวนเงินหรือเงื่อนไขที่เจ้าหนี้กำหนดได้ ให้หาวิธีเจรจาขอประนอมหนี้ เช่น ขอลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนในแต่ละงวด หรือ ขอยืดเวลาในการชำระหนี้ เพราะบางอาชีพมีความเสี่ยงเรื่องรายได้ โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรที่รายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับ ฤดูกาล และ พืชผลทางการเกษตร เช่น ชาวสวนยาง เมื่อก่อนราคายางมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละประมาณ 180 บาท แต่ปัจจุบันราคายางลดลงเหลือกิโลกรัมละประมาณ 80 บาท 

   ฉะนั้น การสร้างหนี้ในช่วงที่มีรายได้ดี ก็ควรคำนึงถึงอนาคตด้วยว่า ถ้าเกิดภาวะเช่นนี้ จะมีเงินรายได้เพียงพอต่อการชำระหนี้ในแต่ละงวด และมีเงินเพียงพอต่อรายจ่ายภายในครอบครัวหรือไม่ 

เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทีดีต่อเจ้าหนี้และตัวเราเอง  เราจึงไม่ควร ?หนีหนี้?  ?หนีหน้า?  ?หนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย?  และไม่ควรยึดคติที่ว่า ?ไม่มี  ไม่หนี  และไม่ให้?  หากท่านไม่สามารถเจรจาประนอมหนี้ได้ ให้นึกถึงคำว่า  ?ทุกปัญหามีทางออก ถ้าคิดอะไรไม่ออก  โทรปรึกษา 1213 กันดีกว่าค่ะ  (เฉพาะการเป็นหนี้กับสถาบันการเงินที่ ธปท. กำกับดูแลเท่านั้น)?

. ?ควรมีวินัยในการชำระหนี้? เมื่อถึงกำหนดชำระควรชำระหนี้ให้ตรงตามวันเวลาที่เจ้าหนี้กำหนด และควรหาช่องทางที่จะทำให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้น เช่น ขายอาหารหรือเครื่องดื่มตอนเย็นหลังเลิกงาน รับจ้างทั่วไป  เป็นต้น

   6. ?ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียงและเพียงพอ? ต่อรายได้ที่เรามี นั่นก็คือ  มีเงินเท่าไหร่ก็ควรจัดสรรให้ใช้จ่ายให้เพียงพอ ประหยัด และก่อนจะตัดสินใจซื้ออะไร  ต้องคิดทบทวนให้ดี ให้รอบคอบ ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ  ไม่ใช่สิ่งที่อยากได้ เช่น ถ้าซื้อรถโดยวิธีผ่อนชำระ ค่าใช้จ่ายที่จะมีเพิ่มขึ้นตามมาด้วย เช่น ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน หรือค่าเช่าที่จอดรถ เป็นต้น

ในท้ายที่สุดแล้ว ท่านจะเป็นอีกผู้หนึ่งที่โชคดีที่สามารถขจัด ปัดเป่า หนี้ให้หลุดไปได้ หลังจากนี้ ก็ควรที่จะหันมาเก็บออมสำรองเงินไว้ใช้ยามจำเป็นต่อไป  หากท่านมีความจำเป็นต้องก่อหนี้ในครั้งต่อไปก็พึงระมัดระวังให้ดี  และต้องตระหนักว่า หนี้ใหม่ที่จะเกิดขึ้นควรเป็นหนี้ที่ดีและควรก่อ  เป็นหนี้ที่ทำให้เรามีรายได้หรือทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเท่านั้น  เพราะครั้งต่อไปท่านอาจจะไม่โชคดี สามารถขจัดหนี้ให้หลุดได้เหมือนกับครั้งที่ผ่านมาก็ได้นะคะ




----------------------------------------------------
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
สนับสนุนโดย
- กฟผ.โรงไฟฟ้าจะนะ www.chana.egat.co.th/home
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา www.skru.ac.th
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy